จากความสำเร็จในการพัฒนาพื้นที่สูงภายใต้โครงการหลวงโมเดล และองค์ความรู้ที่สั่งสมมากว่า 5 ทศวรรษ โครงการหลวงจึงตั้งเป้าหมายการขยายองค์ความรู้ และรูปแบบการพัฒนาไปสู่การใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง ทั้งในประเทศและนานาชาติ โดยเมื่อปีพุทธศักราช 2562 โครงการหลวงประกาศเจตนารมณ์ในการจัดตั้งสถาบันการเรียนรู้การพัฒนาทางเลือกอย่างยั่งยืนในเวทีการประชุมวิชาการนานาชาติ ต่อมาในการประชุมคณะกรรมการ กปส. ประจำปี 2563 ได้เห็นชอบในหลักการของสถาบันการเรียนรู้โครงการหลวง และให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องร่วมมือสนับสนุนการเรียนรู้ พร้อมขยายสู่การใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศให้กว้างขวาง
วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถาบันการเรียนรู้มูลนิธิโครงการหลวง
ภาพรวมหลักสูตรการเรียนรู้มูลนิธิโครงการหลวง
มูลนิธิโครงการหลวงดำเนินการพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ในรูปแบบการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง (โครงการหลวงโมเดล) และด้านวิชาการในสาขาต่าง ๆ จากประสบการณ์การทำงานตลอดเวลากว่า 55 ปี ภายใต้ “ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโครงการหลวง ชนกาธิเบศรดำริ” และสถาบันการเรียนรู้มูลนิธิโครงการหลวงกรุงเทพฯ และพื้นที่ปฏิบัติงานของมูลนิธิโครงการหลวง 39 แห่ง เพื่อจัดทำหลักสูตรการเรียนรู้ที่มีความเฉพาะตามบริบทของพื้นที่ รวมถึงสาขาวิชาที่มูลนิธิโครงการหลวงมีองค์ความรู้และมีความเชี่ยวชาญ โดยได้สร้างรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายที่เหมาะสมกับทุกกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย
- หลักสูตรระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว สำหรับ 9 กลุ่มเป้าหมาย 1) ประชาชนทั่วไป/เยาวชน 2) เกษตรกร 3) ผู้นำชุมชนบนพื้นที่สูง 4) ผู้นำสตรี 5) นักเรียน/นักศึกษา 6) นักวิชาการ/นักวิจัย 7) นักธุรกิจ/ผู้ประกอบการ 8) ผู้บริหารองค์กร และ 9) นักพัฒนา/นักวิชาการนานาชาติ
- หลักสูตรการเรียนรู้มูลนิธิโครงการหลวง ประกอบด้วย หลักสูตรภาษาไทย และหลักสูตรนานาชาติ โดยมีสาระหลักสูตร 3 ส่วน ได้แก่
ส่วนที่ 1 : หลักวิชาการพื้นฐาน
ส่วนที่ 2 : องค์ความรู้และเทคโนโลยีในการพัฒนาพื้นที่สูง
ส่วนที่ 3 : การประยุกต์ใช้หลักและแนวทางการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืนของโครงการหลวง ในการพัฒนาพื้นที่สูงในแต่ละบริบท
หลักสูตร ปี 2566-2567 ประกอบด้วย
หลักสูตร Royal Project International Workshop จำนวน 5 หลักสูตร ได้แก่
หลักสูตรการเรียนรู้ระยะสั้นในรูปแบบ RPF CAMP
หลักสูตรสำหรับนักศึกษาฝึกงาน
เพื่อเตรียมความพร้อม สร้างการรับรู้ และเข้าใจหลักการพระราชทาน และหลักการทำงานของมูลนิธิโครงการหลวง ก่อเกิดประโยชน์ต่อการศึกษาและเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพในอนาคต จำนวน 6 รุ่น จาก 17 มหาวิทยาลัย นักศึกษาไทย 287 คน นักศึกษาต่างชาติ 2 คน ทั้งนี้ดำเนินการฝึกงานนพื้นที่สถานีฯ/ศูนย์ 27 แห่ง และส่วนกลาง 7 หน่วยปฏิบัติการ